วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2556

                                      ซอฟต์แวร์  (Software)
1.ความหมายของซอฟแวร์
ซอฟต์แวร์  คือ การลำดับขั้นตอนการทำงานของคำสั่งที่จะทำหน้าที่สั่งคอมพิวเตอร์ว่าให้ทำอะไร  เป็นชุดของโปรแกรมหลายๆโปรแกรมนำมารวมกันให้สามารถทำงานได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่ต้องการ  เรามองไม่เห็นหรือสัมผัสไม่ได้แต่เราสามารถสร้าง จัดเก็บ และนำมาใช้งานหรือเผยแพร่ได้ด้วยสื่อหลายชนิดเช่น  แผ่นบันทึก  แผ่นซีดี  แฟล็ชไดร์ฟ ฮาร์ดดิสก์  เป็นต้น
หน้าที่ของซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์ เราก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย ซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท
2. ประเภทของซอฟแวร์
ซอฟต์แวร์แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ             ซอฟต์แวร์ระบบ(SystemSoftware) ซอฟต์แวร์ประยุกต์(Application Software)    และ ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ
ซอฟท์แวร์ระบบ (System Software)  ซอฟท์แวร์ระบบเป็นโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบ คือ ดำเนินงานพื้นฐานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำรอง
ซอฟท์แวร์ระบบ (System Software)  System Software หรือโปรแกรมระบบที่รู้จักกันดีก็คือ DOS, Windows, Unix, Linux รวมทั้งโปรแกรมแปลคำสั่งที่เขียนในภาษาระดับสูง เช่น ภาษา Basic, Fortran, Pascal, Cobol, C เป็นต้น
นอกจากนี้โปรแกรมที่ใช้ในการตรวจสอบระบบเช่น Norton’s Utilities ก็นับเป็นโปรแกรมสำหรับระบบด้วยเช่นกัน

หน้าที่ของซอฟต์แวร์ระบบ
1) ใช้ในการจัดการหน่วยรับเข้าและหน่วยส่งออก เช่น รับรู้การกดแป้นต่างๆ บนแผงแป้นอักขระ ส่งรหัสตัวอักษรออกทางจอภาพหรือเครื่องพิมพ์ ติดต่อกับอุปกรณ์รับเข้าและส่งออกอื่นๆ เช่น เมาส์ ลำโพงเป็นต้น
2) ใช้ในการจัดการหน่วยความจำ เพื่อนำข้อมูลจากแผ่นบันทึกมาบรรจุยังหน่วยความจำหลัก หรือในทำนองกลับกัน คือนำข้อมูลจากหน่วยความจำหลักมาเก็บไว้ในแผ่นบันทึก
3) ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น เช่น การขอดูรายการในสาระบบ (directory) ในแผ่นบันทึก การทำสำเนาแฟ้มข้อมูล
ซอฟต์แวร์ระบบพื้นฐานที่เห็นกันทั่วไป แบ่งออกเป็นระบบปฏิบัติการ และ ตัวแปลภาษา
ประเภทของซอฟต์แวร์ระบบ
ซอฟต์แวร์ระบบ แบ่งเป็น ประเภทคือ
1. ระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS)
2. ตัวแปลภาษา
1. ระบบปฏิบัติการ หรือที่เรียกย่อๆ ว่า โอเอส (Operating System : OS) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการนี้ ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รู้จักกันดีเช่น ดอส วินโดวส์ ยูนิกซ์ ลีนุกซ์ และแมคอินทอช เป็นต้น
1. ระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS)
1) ดอส (Disk Operating System : DOS) เป็นซอฟต์แวร์จัดระบบงานที่พัฒนามานานแล้ว การใช้งานจึงใช้คำสั่งเป็นตัวอักษร ดอสเป็นซอฟต์แวร์ที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในอดีต ปัจจุบันระบบปฏิบัติการดอสนั้นมีการใช้งานน้อยมาก
1. ระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS)
2) วินโดวส์ (Windows) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาต่อจากดอส โดยให้ผู้ใช้สามารถสั่งงานได้จากเมาส์มากขึ้นแทนการใช้แผงแป้นอักขระเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ยังสามารถทำงานหลายงานพร้อมกันได้ โดยงานแต่ละงานจะอยู่ในกรอบช่องหน้าต่างบนจอภาพ การใช้งานเน้นรูปแบบกราฟิก ผู้ใช้งานสามารถใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้เพื่อเลือกตำแหน่งที่ปรากฏบนจอภาพ ทำให้ใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ง่ายระบบปฏิบัติการวินโดวส์จึงได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน
3) ยูนิกซ์ (Unix) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาตั้งแต่ครั้งใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่เป็นเทคโนโลยีแบบเปิด (open system) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ไม่ต้องผูกติดกับระบบใดระบบหนึ่งหรือใช้อุปกรณ์ที่มียี่ห้อเดียวกัน ยูนิกซ์ยังถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองการใช้งานในลักษณะที่มีผู้ใช้ได้หลายคนในเวลาเดียวกันที่เรียกว่า ระบบหลายผู้ใช้ (multiusers) และสามารถทำงานได้หลายๆ งานในเวลาเดียวกันในลักษณะที่เรียกว่า ระบบหลายภารกิจ (multitasking) ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์จึงนิยมใช้กับเครื่องที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย เพื่อใช้งานร่วมกันหลายๆ เครื่องพร้อมกัน
4) ลีนุกซ์ (linux) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาจากระบบยูนิกซ์ เป็นระบบซึ่งมีการแจกจ่ายโปรแกรมต้นฉบับให้นักพัฒนาช่วยกันพัฒนาคุณสมบัติของระบบปฏิบัติการ ระบบปฏิบัติการ ลีนุกซ์เป็นที่นิยมกันมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากมีโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ที่ทำงานบนระบบลีนุกซ์จำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมในกลุ่มของกูส์นิว (GNU) และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือระบบลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการประเภทแจกฟรี (Free Ware) ผู้ใช้สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย  ระบบลีนุกซ์ สามารถทำงานได้บนซีพียูหลายตระกูล เช่น อินเทล (PC Intel) ดิจิตอล (Digital Alpha Computer) และซันสปาร์ค (SUN SPARC) ถึงแม้ว่าในขณะนี้ลีนุกซ์ยังไม่สามารถแทนที่ระบบปฏิบัติการวินโดวส์บนพีซีได้ทั้งหมดก็ตาม แต่ผู้ใช้จำนวนมากได้หันมาใช้และช่วยพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนลีนุกซ์กันมากขึ้น
5) แมคอินทอช (macintosh) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แมคอินทอช ส่วนมากนำไปใช้งานด้านกราฟิก ออกแบบและจัดแต่งเอกสาร นิยมใช้ในสำนักพิมพ์ต่างๆ

นอกจากระบบปฏิบัติการที่กล่าวมาแล้วยังมีระบบปฏิบัติการอีกมาก เช่นระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันเป็นระบบ เช่น ระบบปฏิบัติการเน็ตแวร์ นอกจากนี้ยังมีระบบปฏิบัติการที่ใช้งานเฉพาะกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นมาเพื่องานใดงานหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ในสถาบันการศึกษา
ชนิดของระบบปฏิบัติการ จำแนกตามการใช้  งานสามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ชนิด  ด้วยกัน คือ
1 ประเภทใช้งานเดียว (Single-tasking)
ระบบปฏิบัติการประเภทนี้จะกำหนดให้คอมพิวเตอร์ใช้งานได้ครั้งละหนึ่งงานเท่านั้น ใช้ในเครื่องขนาดเล็กอย่างไมโครคอมพิวเตอร์ เช่น ระบบปฏิบัติการดอส เป็นต้น
2 ประเภทใช้หลายงาน (Multi-tasking)
ระบบปฏิบัติการประเภทนี้สามารถควบคุมการทำงานพร้อมกันหลายงานในขณะเดียวกัน ผู้ใช้สามารถทำงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้หลายชนิดในเวลาเดียวกัน เช่น ระบบปฏิบัติการ Windows 98 ขึ้นไป และUNIX เป็นต้น
3 ประเภทใช้งานหลายคน (Multi-user)
ในหน่วยงานบางแห่งอาจใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ทำหน้าที่ประมวลผล ทำให้ในขณะใดขณะหนึ่งมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์พร้อมกันหลายคน แต่ละคนจะมีสถานีงานของตนเองเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ จึงต้องใช้ระบบปฏิบัติการที่มีความสามารถสูง เพื่อให้ผู้ใช้ทุกคนสามารถทำงานเสร็จในเวลา เช่น ระบบปฏิบัติการWindows NT และ UNIX เป็นต้น
2. ตัวแปลภาษา
การพัฒนาซอฟแวร์ต้องอาศัยซอฟแวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูงเพื่อแปลภาษาระดับสูงให้เป็น
ภาษาเครื่องภาษาระดับสูงมีหลายภาษาซึ่งสร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนชุดคำสั่งได้ง่าย เข้าใจได้ และเพื่อให้สามารถปรับปรุงแก้ไขซอฟแวร์ในภายหลังได้ภาษาระดับสูงที่พัฒนาขึ้นทุกภาษาต้องมีตัวแปลภาษาซึ่งภาษาระดับสูงได้แก่ ภาษาBasic, Pascal, C และภาษาโลโก เป็นต้นนอกจากนี้ ยังมีภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันอีกมาก ได้แก่ Fortran, Cobol, และภาษาอาร์พีจี

ซอฟต์แวร์ประยุกต์  (Application Software)
2.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์  (Application Software)
ซอฟต์แวร์ที่ใช้ทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ทำงานเฉพาะด้าน เช่น การจัดพิมพ์รายงาน การนำเสนองาน การจัดทำบัญชี การตกแต่งภาพ หรือการออกแบบเว็บไซต์ เป็นต้น
ประเภทของซอฟต์แวร์ประยุกต์ แบ่งตามลักษณะการผลิต จำแนกได้เป็น  ประเภท คือ
ซอฟแวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้เองโดยเฉพาะ (Proprietary Software)
ซอฟแวร์ที่หาซื้อได้ทั่วไป (Packaged Software)
มีทั้งโปรแกรมเฉพาะ (Customized Package) และ โปรแกรมมาตรฐาน (Standard Package)
แบ่งตามกลุ่มการใช้งาน จำแนกได้เป็น กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
1. กลุ่มการใช้งานทางด้านธุรกิจ(Business)
2. กลุ่มการใช้งานด้านกราฟิกและมัลติมีเดีย(Graphic and Multimedia)
3. กลุ่มการใช้งานบนเว็บ (Web and Communications)


กลุ่มการใช้งานทางด้านธุรกิจ (Business)
ซอฟแวร์กลุ่มนี้ ถูกนำมาใช้โดยมุ่งหวังให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่นการจัดพิมพ์รายงานเอกสาร นำเสนองาน และการบันทึกนัดหมายต่างๆ ตัวอย่างเช่น:
โปรแกรมประมวลคำ อาทิ Microsoft Word, Sun StarOffice  Writer
โปรแกรม ตารางคำนวณ อาทิ Microsoft Excel, Sun  StarOffice Cals
โปรแกรมนำเสนองาน อาทิ Microsoft PowerPoint, Sun StarOffice Impress
กลุ่มการใช้งานทางด้านกราฟิกและมัลติมีเดีย
ซอฟแวร์กลุ่มนี้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยจัดการด้านงานกราฟิกและมัลติมีเดีย เพื่อให้งานง่ายขึ้น เช่น ใช้ตกแต่ง วาดรูป ปรับเสียง ตัดต่อภาพเคลื่อนไหว และการสร้างและออกแบบเว็บไซต์ ตัวอย่างเช่น
โปรแกรมงานออกแบบ อาทิ Microsoft Visio Professional
โปรแกรมตกแต่งภาพ อาทิ CorelDRAW, Adobe Photoshop
โปรแกรมตัดต่อวิดิโอและเสียง อาทิ Adobe Premiere, Pinnacle Studio DV              ต่อ>
โปรแกรมสร้างสื่อมัลติมีเดีย อาทิ Adobe Authorware, Toolbook Instructor, Adobe Director
โปรแกรมสร้างเว็บ อาทิ Adobe Flash, Adobe Dreamweaver
กลุ่มการใช้งานบนเว็บและการติดต่อสื่อสาร
เมื่อเกิดการเติบโตของเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซอฟแวร์กลุ่มนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะเพิ่มมากขึ้น เช่น โปรแกรมการตรวจเช็คอีเมล การท่องเว็บไซต์ การจัดการดูแลเว็บ และการส่งข้อความติดต่อสื่อสาร การประชุมทางไกลผ่านเครือข่าย  ตัวอย่างโปรแกรมในกลุ่มนี้ได้แก่:
โปรแกรมจัดการอีเมล อาทิ Microsoft Outlook, Mozzila Thunderbird
โปรแกรมท่องเว็บ อาทิ Microsoft Internet Explorer, Mozzila Firefox
โปรแกรม ประชุมทางไกล (Video Conference) อาทิ Microsoft Netmeeting โปรแกรมส่งข้อความด่วน (Instant Messaging) อาทิ MSN Messenger/ Windows Messenger, ICQ
โปรแกรมสนทนาบนอินเทอร์เน็ต อาทิ PIRCH, MIRCH
ความจำเป็นของการใช้ซอฟต์แวร์
การใช้ภาษาเครื่องนี้ถึงแม้ว่าคอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ทันที แต่มนุษย์ผู้ใช้จะมีข้อยุ่งยากมากเพราะเข้าใจและจดจำได้ยาก จึงมีผู้สร้างภาษา คอมพิวเตอร์ในรูปแบบที่เป็นตัวอักษร เป็นประโยคข้อความ ภาษาในลักษณะดังกล่าวนี้เรียกว่าภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง ภาษาระดับสูงมีอยู่มากมายบางภาษามีความเหมาะสมกับการใช้สั่งงานการ- คำนวณทางคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ บางภาษามีความเหมาะสมไว้ใช้สั่งงานทางด้านการจัดการข้อมูล
ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์
เมื่อมนุษย์ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำงาน มนุษย์จะต้องบอกขั้นตอนวิธีการให้คอมพิวเตอร์ทราบ การที่บอกสิ่งที่มนุษย์เข้าใจให้คอมพิวเตอร์รับรู้ และทำงานได้อย่างถูกต้อง จำเป็นต้องมีสื่อกลาง ถ้าเปรียบเทียบกับชีวิตประจำวัน แล้ว เรามีภาษาที่ใช้ใน-การติดต่อซึ่งกันและกัน เช่นเดียวกันถ้ามนุษย์ต้องการจะถ่ายทอดความต้องการให้คอมพิวเตอร์รับรู้ และปฏิบัติตามจะต้องมีสื่อกลางสำหรับการติดต่อเพื่อให้คอมพิวเตอร์รับรู้เราเรียกสื่อกลางนี้ว่า ภาษาคอมพิวเตอร์

วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556



                          การสืบค้นข้อมูล


ความหมายของเครื่องช่วยค้นหา(Search Engines)
      คือ เครื่องมือหรือเว็บไซต์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต

ในการค้นหาข้อมูลและข่าวสาร
ที่อยู่ของเว็บไซต์ (Address) ต่าง ๆ ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
 เนื่องจากปัจจุบันการใช้งานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีการพัฒนาไปค่อนข้าง
มาก 
และโดยการใช้งานที่สะดวกขึ้น ทำให้เว็บที่เป็นแหล่งรวมข้อมูลบนเครือข่าย
อินเทอร์เน็ต
เกิดขึ้นอย่างมากมายมหาศาล

ประเภทของเครื่องช่วยค้นหา (Search Engines)
อินเด็กเซอร์ (Indexers)
      Search Engines แบบอินเด็กเซอร์จะมีโปรแกรมช่วยจัดการหา

ข้อมูลในการค้นหา 
หรือที่เรียกว่า Robot วิ่งไปมาในอินเทอร์เน็ตโดยอัตโนมัติ เพื่ออ่านข้อมูล
จากเว็บเพจ 
(Web Pages) ต่าง ๆ ทั่วโลกมาจัดทำเป็นฐานข้อมูลไว้ โดยจะใช้ตัวอินเด็กซ์
 (Index)
ค้นหาจากข้อความในเว็บเพจที่ได้สำรวจมาแล้ว

ตัวอย่างของเว็บไซด์ที่ให้บริการตามแบบอินเด็กเซอร์

 -      http://www.altavista.com       - http://www.excite.com
          - http://www.hotbot.com            - http://www.magellan.com          

          - http://www.webcrawler.com


ดเร็กทอรี (Directories)
      Search Engines แบบไดเร็กทอรีจะใช้การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยแบ่งออก

เป็นหมวดหมู่ ซึ่งก็เปรียบ 
เสมือนกับเป็นแค็ตตาล็อกสินค้า (Catalog) เราสามารถเลือกจากหมวดหมู่ใหญ่
 แล้วเลือกดูหมวดหมู่ย่อย ๆ ลงไปเรื่อย ๆ จนพบกับข้อมูลที่ต้องการ 
โดยจะแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับตำแหน่ง URL และรายละเอียดเกี่ยวกับ 
URL นั้น ๆ 
ซึ่งได้มาจากการวิเคราะห์เนื้อหาของแต่ละเว็บเพจว่าเกี่ยวกับเรื่องอะไร

ตัวอย่างของเว็บไซต์ที่ให้บริการด้วยไดเร็กทอรี
-http://www.yahoo.com               - http://www.lycos.com
- http://www.looksmart.com       - http://www.galaxy.com
- http://www.askjeeves.com      - http://www.siamguru.com



เมตะเสิร์ช (Metasearch)
    Search Engines แบบเมตะเสิร์ชจะใช้หลาย ๆ วิธีการมาช่วยในการค้นหา

ข้อมูล โดยจะรับคำสั่งค้นหาจากเรา 
แล้วส่งต่อไปยังเว็บไซต์ที่เป็น Search Engines หลาย ๆ แห่งพร้อม ๆ กัน 
ทำให้เราสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ 
Search Engines ต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว จากนั้นก็จะสรุปแสดงผลลัพธ์ออกมา


ตัวอย่างของเว็บไซต์ที่ให้บริการด้วยเมตะเสิร์ช

- http://www.dogpile.com       
- http://www.profusion.com
- http://www.metacrawler.com
- http://www.highway61.com
- http://www.thaifind.com


เว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลที่ได้รับความนิยม

   
   Yahoo   
       เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลแบบไดเร็กทอรี่เป็นรายแรก
ในอินเทอร์เน็ต 
และเป็นเว็บไซต์ที่มีผู้ใช้งานสูงสุดในปัจจุบัน เพราะมีการจัดเก็บข้อมูล
อย่างเป็นระเบียบ
 และผู้ใช้บริการมีโอกาสที่จะได้รับข้อมูลตรงกับความต้องการสูง การใช้งาน
 Yahoo แบ่งออกเป็น แบบ 
คือ การค้นหาในแบบเมนู และการค้นหาแบบวิธีระบุคำที่ต้องการค้นหา


Altavista  

     เป็น Search Engines ของบริษัท Digital Equipment Corp. 
หรือ DEC ซึ่งมีฐานข้อมูลที่มีขนาดใหญ่มาก 
และมีโปรแกรมที่ช่วยในการค้นหาที่มีความสามารถสูงเป็นจุดเด่
โดยมีเว็บเพจอินเด็กซ์ (Indexed Web Pages) เป็นจำนวนมากกว่า 
150 ล้านเว็บเพจที่เราสามารถใช้ในการค้นหาข้อมูล


Excite    

     เป็น Search Engines  ที่มีจำนวนไซต์ (site) ในคลังข้อมูลมากที่สุดตัวหนึ่ง
และสามารถค้นหาข้อมูลที่เป็นคำหรือความหมายของคำได้ โดยจะทำการค้นหา
ข้อมูลจาก 
World Wide Web และ Newsgroups เป็นหลัก จากการที่ excite 
มีข้อมูลในคลังข้อมูลเป็นจำนวนมาก ทำให้ผลลัพธ์ในการค้นหาข้อมูลที่
ได้มีเป็นจำนวนมากตามไปด้วย



Hotbot    

      เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลที่ได้รับความนิยมอีกเว็บไซต์หนึ่ง
 มีจุดเด่นตรงที่สามารถกำหนดเงื่อนไขขั้นสูงได้ง่ายกว่าเครื่องมือค้นหาอื่น ๆ


Go.com    

      เว็บไซต์ที่มีการนำเสนอข่าวทันเหตุการณ์ต่างๆ จากแหล่งข่าวต่าง ๆ
 เป็นจำนวนมากตลอดจนข่าวในด้านบันเทิง (Entertainment News)
 นอกจากนี้ยังมีการรายงานข้อมูลเกี่ยวกับหุ้นจากตลาดหลักทรัพย์ต่าง ๆ


Lycos    

     ฐานข้อมูลของ Lycos มีขนาดใหญ่มาก ซึ่งมีคลังข้อมูลมากกว่า 1,500,000 
ไซต์และมีเทคนิค
ในการค้นหาข้อมูลที่ดีมากด้วย โดยมีระบบการค้นหาข้อมูลที่รวดเร็วที่สามารถ
ลงไปค้นหาข้อมูลจาก World Wide Web 
ได้ทุกรูปแบบจนถึงการค้นเป็นคำต่อคำ


Looksmart   

     เกิดขึ้นจากความคิดของชาวออสเตรเลีย  คนที่ไม่ประทับใจการค้นหา
ข้อมูลในอินเทอร์เน็ตสมัยนั้น 
โดยขอความช่วยเหลือทางการเงินจาก Reader’s Digest ทั้งสองจึงลงมือ
สร้างเว็บไซต์ค้นหา
ข้อมูลที่คำนึงถึงความใช้ง่ายให้เหมาะกับทั้งมือใหม่และผู้ที่ชำนาญอินเทอร์เน็ต


WebCrawler    

     เป็นเว็บไซต์ที่มีคลังข้อมูลอยู่ในระดับปานกลาง การค้นหาข้อมูลของ 
WebCrawlerจะมีข้อจำกัดก็คือ
 ใช้ค้นหาข้อมูลที่เป็นวลีหรือข้อความทั้งข้อความไม่ได้ จะสามารถค้นหา
ข้อมูลได้เฉพาะที่เป็นคำ ๆ เท่านั้น


Dog pile   

      เป็นเว็บไซต์ประเภทเมตะเสิร์ชที่ใช้งานง่าย และค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว 
โดยการพิมพ์คำที่เราต้องการค้นหาลงในช่องค้นหา และคลิกปุ่ม Fetch 
โดยผลลัพธ์ของการค้นหาจะถูกแสดงขึ้นมาบนจอภาพอย่างรวดเร็ว


Ask jeeves    

      เป็นเว็บไซต์น้องใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมในอินเทอร์เน็ต โดยเราสามารถ
ถามคำถามที่เราอยากรู้โดยพิมพ์คำถามลงไปในช่องกรอกข้อความ และคลิกปุ่ม
Ask แล้วAsk jeeves จะไปทำการค้นหาคำตอบ (Answer) จากเว็บไซต์ต่าง ๆ ให้เรา


ProFusion      

     เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลแบบเมตะเสิร์ช โดยค้นหาข้อมูลจาก Search 
Engines ที่ได้รับความนิยมถึง แห่งด้วยกัน โดยเราสามารถเลือกได้ว่าจะใช้ Search 
Enginesใดในการค้นหาข้อมูลทำให้สามารถค้นหาข้อมูลได้สะดวกรวดเร็วและตรงกับ
ความต้องการ

Siamguru.com

   siamguru.com ภายใต้สมญานาม เสิร์ชฯ ไทยพันธุ์แท้” (Real Thai Search Engine)
เป็นเว็บไซต์ที่มีเครื่องมือ
ค้นหาสำหรับคนไทยที่ดีที่สุดในประเทศไทย โดยให้บริการค้นหาข้อความ
แบบธรรมดาและแบบพิเศษ 
ค้นหาภาพ ค้นหาเพลง นักร้องต่าง ๆ โดยใช้เทคโนโลยีการค้นหาที่มีประสิทธิภาพมาก
ที่สุดสำหรับการค้นหาภาษาไทย
 ตลอดจนมีระบบการเก็บข้อมูลใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา

การใช้งาน Search Engines


   การระบุคำที่ต้องการค้นหาหรือใช้คีย์เวิร์ด Yahoo.com การค้นหาข้อมูลด้วยวิธีนี้ 

ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจะต้องป้อนข้อความที่ต้องการค้นหาหรือเรียกว่าคีย์เวิร์ด (Keyword) 
ลงไปในช่องสำหรับกำหนดการค้นหา ในเว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูล   


การค้นหาจากหมวดหมู่ (Directories)
     ในปัจจุบันเว็บไซต์ประเภท ต่าง ๆ มักจะมีการค้นหาแบบระบุคำหรือใช้คีย์เวิร์ด 

และการค้นหาจากหมวดหมู่ควบคู่กันไป ซึ่งการค้นหาจากหมวดหมู่จะมีการแบ่งหัว
ข้อต่าง ๆ ออกเป็นหัวข้อหลัก และในแต่ละหัวข้อหลักก็ประกอบไปด้วยหัวข้อย่อยลง
ไปเรื่อย ๆ ผู้ใช้สามารถคลิกที่ลิงก์ ไปยังหัวข้อย่อยต่าง ๆ จนพบกับข้อมูลที่ต้องการ

   เทคนิคในการค้นหาข้อมูล

   เทคนิคสำคัญที่ช่วยให้การค้นหาข้อมูลประสบความสำเร็จมีอะไรบ้างเทคนิคและ
วิธีการที่ช่วยให้การค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตประสบความสำเร็จ ได้แก่          
         1. บีบประเด็นให้แคบลง เนื่องจากจำนวนข้อมูลที่มีมากมายในอินเทอร์เน็ตทำ
ให้การค้นหาได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นจำนวนมาก          
          2. ใช้สิ่งที่เรียกว่าออปชัน (Option) เป็นตัวช่วยในการค้นหาข้อมูล ซึ่งเว็บไซต์ที่เป็น 
Search Engines ส่วนใหญ่จะมีให้อยู่แล้ว          
         3. อย่าค้นหาคำที่เราต้องการเท่านั้น ควรจะค้นหาคำที่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้
เคียงกันด้วย

         4. หลีกเลี่ยงการค้นหาคำที่เป็นคำเดี่ยว ๆ หรือมีตัวเลขปนอยู่ เช่น NT หรือ 3Dแต่ถ้า
ต้องการค้นหาจริง ๆ จะต้องใส่เครื่องหมายคำพูดลงไปด้วย      (“  ”)

         5. พวกกลุ่มคำ หรือวลี ก็ต้องใส่เครื่องหมายคำพูดลงไปเช่นเดียวกัน         
         6. หลีกเลี่ยงคำจำพวก Natural Language (ภาษาพูด)

        7. ควรใช้สิ่งที่เรียกว่า Advanced Search หรือ Power Search เข้ามาช่วย
 เพราะจะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ตรงกับความต้องการของเรามากกว่าการค้นหาแบบธรรมดา

        8. พยายามอย่าตั้งคำถามโดยมีคำนำหน้านาม (Articles) นำหน้าคำที่เราต้องการ
ค้นหา เช่น การใช้ an หรือ the นำหน้า

         9. ตรวจสอบข้อความหรือคำที่ต้องการค้นหาเพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้พิมพ์หรือสะกดคำผิด          
       10. ถ้าผลลัพธ์ที่ได้จากคำถามครั้งแรกไม่ตรงกับความต้องการของเรา ให้ทดลองเปลี่ยน
คำถามเล็กน้อย          
         11. คำที่มีความหมายเหมือนกันหรือคล้ายกัน (Synonym) ยกตัวอย่างเช่น คำว่า
“Mother Board” เราสามารถใช้คำว่า “Main board” แทนได้

          12. ถ้าคำถามของเรามีคำที่ต้องแยกจากัน เช่น คำว่า “Mother Board” 

เราจำเป็นต้องใช้เครื่องหมายอัญประกาศ หรือเครื่องหมายคำพูด (“         ”) 
เพราะจะทำให้Search Engines 
มองรูปของคำว่า “Mother Board” เป็นข้อความเดียวกัน

          13. ใช้ Help ให้เป็นประโยชน์ เพราะ Help เหล่านั้นจะมีเทคนิคหรือวิธีการ
ของแต่ละ Search Engines 
ที่ช่วยแนะนำเทคนิคต่าง ๆ ที่สามารถใช้ได้หรือไม่ได้บนเว็บSearch Engines นั้น ๆ
 และยังมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่าง ๆ อีกมากมาย ซึ่งจะช่วยให้เราได้รับความสะดวก
รวดเร็วในการค้นหาด้วย



การใช้โปรแกรมเบราว์เซอร์ค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
    การค้นกาข้อมูลโดย Internet Explore
        1.คลิกเม้าส์ที่ปุ่ม Search บนแถบเครื่องมือ
        2.จะปรากฏหน้าต่าง Search ขึ้นมาทางด้านซ้ายของหน้าต่าง 
คลิกที่ปุ่มCustomize
       3.จะปรากฏหน้าต่าง Customize Search Setting บนจอภาพ 
ซึ่งเราจะเห็นได้ว่ามีSearch Engines ต่าง ๆ
 ให้เราสามารถเลือกใช้ในการค้นหาข้อมูล
        4.คลิกที่ปุ่ม OK 
        5.เลือกสิ่งที่ต้องการให้โปรแกรม Internet Explorer ค้นหา 
        6.กรอกข้อความ แล้วคลิกเม้าส์ที่ปุ่ม เพื่อเริ่มต้นการค้นหา
    7.จะปรากฏรายชื่อเว็บไซต์ที่มีข้อมูลที่เราต้องการ เราสามารถคลิกเม้าส์
ที่ชื่อเว็บไซต์เหล่านั้นได้ทันที